วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2550

การใช้สื่อการสอน

1. ใช้สื่อการสอนในขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ทั้งนี้เพื่อเร้าผู้เรียนให้เกิดความสนใจ และเปลี่ยนพฤติกรรมในเบื้องต้น โดยปรับตนเองให้พร้อมที่จะเรียนรู้บทเรียนใหม่ ซึ่งอาจกระทำได้โดยการรื้อฟื้นความรู้เดิม (assimilation) หรือขยายความรู้เดิม (accommodation) เพื่อนำมาใช้ให้ประสานกันกับความรู้ใหม่ ซึ่งจะเรียนในขั้นต่อไป
2. ใช้สื่อการสอนในขั้นประกอบการสอนหรือขั้นดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อช่วยให้ความกระจ่างในเนื้อหาที่เรียนหรือทำให้ผู้เรียน เรียนรู้ได้ง่ายขึ้นและเข้าใจข้อเท็จจริงในเนื้อหาอย่างแท้จริงในรูปของการเกิด Concept เข้าใจหลักการสำคัญ และมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในแนวทางที่ดีขึ้นตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ได้กำหนดไว้
3. ใช้สื่อการสอนเพื่อขยายขอบเขตความรู้ของผู้เรียนให้ก้าวหน้าและเจริญงอกงามทั้งในด้านความกว้างและความลึกของภูมิปัญญา ซึ่งเป็นผลของการเรียนอย่างแท้จริง4. ใช้สื่อการสอนเพื่อย่อสรุปเนื้อหาสำคัญของบทเรียนเกิดเป็น Concept ในเนื้อหาแต่ละเรื่อง5. ใช้สื่อการสอนเพื่อส่งเสริมผู้เรียนให้มีการฝึกและพัฒนาตนเองให้รู้จักขั้นตอนและมีความคิดสร้างสรรค์ (Control and Creativity)
***ที่มา:
http://www.la.ubu.ac.th/

ประเภทของสื่อการสอน
ประเภทของสื่อการสอน...เอ็ดการ์ เดล จำแนกประสบการณ์ทางการศึกษา เรียงลำดับจากประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมไปสู่ประสบการณ์ที่เป็นนามธรรม โดยยึดหลักว่า คนเราสามารถเข้าใจสิ่งที่เป็นรูปธรรมได้ดีและเร็วกว่าสิ่งที่เป็นนามธรรมซึ่งเรียกว่า "กรวยแห่งประสบการณ์" (Cone of Experiences) ซึ่งมีทั้งหมด 10 ขั้น ดังแผนภาพต่อไป...


...โรเบิร์ต อี. ดี. ดีฟเฟอร์ แบ่งประเภทของสื่อการสอน ดังนี้วัสดุที่ไม่ต้องฉาย ได้แก่ รูปภาพ แผนภูมิ กราฟ ของจริง ของตัวอย่าง หุ่นจำลอง แผนที่ กระดาษสาธิต ลูกโลก กระดานชอล์ค กระดานนิเทศ กระดานแม่เหล็ก การแสดงบทบาท นิทรรศการ การสาธิต และการทดลองเป็นต้นวัสดุฉายและเครื่องฉาย ได้แก่ สไลด์ ฟิล์มสตริป ภาพโปร่งใส ภาพทึบ ภาพยนตร์ และเครื่องฉายต่าง ๆ เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายสไลด์ และฟิล์มสตริป เครื่องฉายกระจกภาพ เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เครื่องฉายภาพทึบแสง เครื่องฉายภาพจุลทัศน์ เป็นต้นโสตวัสดุและเครื่องมือ ได้แก่ แผ่นเสียง เครื่องเล่นจานเสียง เทป เครื่องบันทึกเสียง เครื่องขยายเสียง และวิทยุ เป็นต้น

...ศาสตราจารย์สำเภา วรางกูร ได้แบ่งประเภทและชนิดของสื่อการสอน ดังนี้ประเภทวัสดุโสตทัศน์ (Audio-Visual Materials)

1. ประเภทภาพประกอบการสอน(Picture Instructional Materials)

  • ภาพที่ไม่ต้องฉาย (Unprojected Pictures)
  • ภาพเขียน (Drawing)ภาพแขวนผนัง (Wall Pictures)
  • ภาพตัด (Cut-out Pictures)
  • สมุดภาพ (Pictorial Books, Scrapt Books)
  • ภาพถ่าย (Photographs)
  • ภาพที่ต้องฉาย (Project Pictures)
  • สไลด์ (Slides) ฟิล์มสตริป (Filmstrips)
  • ภาพทึบ (Opaque Projected Pictures)
  • ภาพโปร่งแสง (Transparencies)
  • ภาพยนตร์ 16 มม., 8 มม., (Motion Pictures)
  • ภาพยนตร์ (Video Tape)

2. ประเภทวัสดุอุปกรณ์ลายเส้น (Graphic Instructional Materials)

  • แผนภูมิ (Charts)
  • กราฟ (Graphs)
  • แผนภาพ (Diagrams)
  • โปสเตอร์ (Posters)
  • การ์ตูน (Cartoons, Comic strips)
  • รูปสเก็ช (Sketches)
  • แผนที่ (Maps)
  • ลูกโลก (Globe)

3. ประเภทกระดานและแผ่นป้ายแสดง (Instructional Boards and Displays)

  • กระดานดำหรือกระดานชอล์ก (Blackboard,Chalk Board)
  • กระดานผ้าสำลี (Flannel Boards)
  • กระดานนิเทศ (Bulletin Boards)
  • กระดานแม่เหล็ก (Magnetic Boards)
  • กระดานไฟฟ้า (Electric Boards)

4. ประเภทวัสดุสามมิติ (Three-Dimensional Materials) มีดังนี้

  • หุ่นจำลอง (Models)
  • ของตัวอย่าง (Specimens)
  • ของจริง (Objects)
  • ของล้อแบบ (Mock-Ups)
  • นิทรรศการ (Exhibits)
  • ไดออรามา (Diorama)
  • กระบะทราย (Sand Tables)

5. ประเภทโสตวัสดุ (Auditory Instructional Materials)

  • แผ่นเสียง (Disc Recorded Materials)
  • เทปบันทึกเสียง (Tape Recorded Materials)
  • รายการวิทยุ (Radio Program)

6. ประเภทกิจกรรมและการละเล่น (Instructional Activities and Plays)

  • การทัศนาจรศึกษา (Field Trip)
  • การสาธิต (Demonstrations)
  • การทดลอง (Experiments)
  • การแสดงแบบละคร (Drama)
  • การแสดงบทบาท (Role Playing)
  • การแสดงหุ่น (Pupetry)
  • ประเภทเครื่องมือโสตทัศนูปกรณ์ (Audio-Visual Equipments)
  • เครื่องฉายภาพยนตร์ 16 มม. , 8 มม.
  • เครื่องฉายสไลด์และฟิล์มสตริป (Slide and Filmstrip Projector)
  • เครื่องฉายภาพทึบแสง (Opaque Projectors)
  • เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ (Overhead Projector)
  • เครื่องฉายกระจกภาพ (3 1/4 "x 4" หรือ Lantern Slide Projector)
  • เครื่องฉายภาพจุลทัศน์ (Micro-Projector)
  • เครื่องเล่นจานเสียง (Record Plays)
  • เครื่องเทปบันทึกภาพ (Video Recorder)
  • เครื่องรับโทรทัศน์ (Television Receiver)
  • จอฉายภาพ (Screen)
  • เครื่องรับวิทยุ(Radio Receive)
  • เครื่องขยายเสียง(Amplifier)
  • อุปกรณ์เทคโนโลยีแบบใหม่ต่างๆ (Modern Instructional Technology Devices) เช่น โทรทัศนศึกษา ห้องปฏิบัติการภาษา
  • โปรแกรมเรียน (Programmed Learning) และอื่นๆ

........จากการศึกษาถึงความสำคัญ ตลอดจนการแบ่งประเภทและชนิดของสื่อการสอนข้างต้น ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของสื่อการสอนที่มีบทบาทในการทำให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ดี แม้สื่อการสอนจะมีความสำคัญและมีประโยชน์มาก แต่ก็ต้องอาศัยเทคนิคในการใช้สื่อการสอนด้วย ซึ่งในเรื่องนี้ได้มีนักวิชาการให้ข้อคิดในการใช้สื่อต่าง ๆ กับการสร้างแบบการเรียนรู้ ดังจะกล่าวต่อไปนี้

****หลักในการใช้สื่อหลักในการใช้สื่อ

ในการพิจารณาเลือกใช้สื่อการสอนแต่ละครั้งครูควรพิจารณาถึงความเหมาะสมของสื่อการสอนแต่ละชนิด ดังนี้

...1. ความเหมาะสม สื่อที่จะใช้นั้นเหมาะสมกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของการสอนหรือไม่

...2. ความถูกต้อง สื่อที่จะใช้ช่วยให้นักเรียนได้ข้อสรุปที่ถูกต้องหรือไม่

...3. ความเข้าใจ สื่อที่จะใช้นั้นควรช่วยให้นักเรียนรู้จักคิดอย่างมีเหตุผลและให้ข้อมูลที่ถุกต้องแก่นักเรียน

...4. ประสบการณ์ที่ได้รับ สื่อที่ใช้นั้นช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์ให้แก่นักเรียน

...5. เหมาะสมกับวัย ระดับความยากง่ายของเนื้อหาที่บรรจุอยู่ในสื่อชนิดนั้น ๆ เหมาะสมกับระดับความสามารถ ความสนใจ และความต้องการของนักเรียนหรือไม่

...6. เที่ยงตรงในเนื้อหา สื่อนั้นช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้เนื้อหาที่ถูกต้องหรือไม่

...7. ใช้การได้ดี สื่อที่นำมาใช้ควรทำให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้ได้ดี

...8. คุ้มค่ากับราคา ผลที่ได้จะคุ้มค่ากับเวลา เงิน และการจัดเตรียมสื่อนั้นหรือไม่

...9. ตรงกับความต้องการ สื่อนั้นช่วยให้นักเรียนร่วมกิจกรรมตามที่ครูต้องการหรือไม่

...10. ช่วยเวลาความสนใจ สื่อนั้นช่วยกระตุ้นให้นักเรียนสนใจในช่วงเวลานานพอสมควรหรือไม่

ความหมายและประโยชน์ของสื่อการสอน

........สื่อการสอน.......
( instructional media )
นักวิชาการในวงการเทคโนโลยีทางการศึกษา โสตทัศนศึกษา และวงการการศึกษา ได้ให้คำจำกัดความของ “สื่อการสอน” ไว้อย่างหลากหลาย เช่น
.......ชอร์ กล่าวว่า เครื่องมือที่ช่วยสื่อความหมายจัดขึ้นโดยครูและนักเรียน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เครื่องมือการสอนทุกชนิดจัดเป็นสื่อการสอน เช่น หนังสือในห้องสมุด โสตทัศนวัสดุต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ สไลด์ ฟิล์มสตริป รูปภาพ แผนที่ ของจริง และทรัพยากรจากแหล่งชุมชน

.......บราวน์ และคณะ กล่าวว่า จำพวกอุปกรณ์ทั้งหลายที่สามารถช่วยเสนอความรู้ให้แก่ผู้เรียนจนเกิดผลการเรียนที่ดี ทั้งนี้รวมถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่ไม่เฉพาะแต่สิ่งที่เป็นวัตถุหรือเครื่องมือเท่านั้น เช่น การศึกษานอกสถานที่ การแสดง บทบาทนาฏการ การสาธิต การทดลอง ตลอดจนการสัมภาษณ์และการสำรวจ เป็นต้น

.......เปรื่อง กุมุท กล่าวว่า สื่อการสอน หมายถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูถึงผู้เรียนและทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่ครูวางไว้ได้

.......ชัยยงค์ พรหมวงศ์ห้ความหมาย สื่อการสอนว่า วัสดุอุปกรณ์และวิธีการประกอบการสอนเพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการสื่อความหมายที่ผู้สอนประสงค์จะส่ง หรือถ่ายทอดไปยังผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพดังนั้นจึง++++สรุปได้ว่า สื่อการสอน หมายถึง เครื่องมือ ตลอดจนเทคนิคต่าง ๆ ที่จะมาสนับสนุนการเรียนการสอน เร้าความสนใจผู้เรียนรู้ให้เกิดการเรียนรู้ เกิดความเข้าใจดีขึ้น อย่างรวดเร็ว...ความสำคัญของสื่อการสอน...
เอ็ดการ์ เดล ได้กล่าวสรุปถึงความสำคัญของสื่อการสอน ดังนี้
.......1. สื่อการสอน ช่วยสร้างรากฐานที่เป็นรูปธรรมขึ้นในความคิดของผู้เรียน การฟังเพียงอย่างเดียวนั้น ผู้เรียนจะต้องใช้จินตนาการเข้าช่วยด้วย เพื่อให้สิ่งที่เป็นนามธรรมเกิดเป็นรูปธรรมขึ้นในความคิด แต่สำหรับสิ่งที่ยุ่งยากซับซ้อน ผู้เรียนย่อมไม่มีความสามารถจะทำได้ การใช้อุปกรณ์เข้าช่วยจะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและสร้างรูปธรรมขึ้นในใจได้
.......2. สื่อการสอน ช่วยเร้าความสนใจของผู้เรียน เพราะผู้เรียนสามารถใช้ประสาทสัมผัสได้ด้วยตา หู และการเคลื่อนไหวจับต้องได้แทนการฟังหรือดูเพียงอย่างเดียว
.......3เป็นรากฐานในการพัฒนาการเรียนรู้และช่วยความทรงจำอย่างถาวร ผู้เรียนจะสามารถนำประสบการณ์เดิมไปสัมพันธ์กับประสบการณ์ใหม่ ๆ ได้ เมื่อมีพื้นฐานประสบการณ์เดิมที่ดีอยู่แล้ว
.......4. ช่วยให้ผู้เรียนได้มีพัฒนาการทางความคิด ซึ่งต่อเนื่องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทำให้เห็นความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น เวลา สถานที่ วัฏจักรของสิ่งมีชีวิต
......5. ช่วยเพิ่มทักษะในการอ่านและเสริมสร้างความเข้าใจในความหมายของคำใหม่ ๆ ให้มากขึ้น ผู้เรียนที่อ่านหนังสือช้าก็จะสามารถอ่านได้ทันพวกที่อ่านเร็วได้ เพราะได้ยินเสียงและได้เห็นภาพประกอบกัน

...เปรื่อง กุมุท ให้ความสำคัญของสื่อการสอน ดังนี้
1. ช่วยให้คุณภาพการเรียนรู้ดีขึ้น เพราะมีความจริงจังและมีความหมายชัดเจนต่อผู้เรียน
2. ช่วยให้นักเรียนรู้ได้ในปริมาณมากขึ้นในเวลาที่กำหนดไว้จำนวนหนึ่ง
3. ช่วยให้ผู้เรียนสนใจและมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในกระบวนการเรียนการสอน
4. ช่วยให้ผู้เรียนจำ ประทับความรู้สึก และทำอะไรเป็นเร็วขึ้นและดีขึ้น
5. ช่วยส่งเสริมการคิดและการแก้ปัญหาในขบวนการเรียนรู้ของนักเรียน
6. ช่วยให้สามารถเรียนรู้ในสิ่งที่เรียนได้ลำบากโดยการช่วยแก้ปัญหา หรือข้อจำกัดต่าง ๆ ได้ดังนี้
• ทำสิ่งที่ซับซ้อนให้ง่ายขึ้น
• ทำนามธรรมให้มีรูปธรรมขึ้น
• ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วให้ดูช้าลง
• ทำสิ่งที่ใหญ่มากให้ย่อยขนาดลง
• ทำสิ่งที่เล็กมากให้ขยายขนาดขึ้น
• นำอดีตมาศึกษาได้
• นำสิ่งที่อยู่ไกลหรือลี้ลับมาศึกษา

...ประโยชน์ของสื่อการสอน...
1. เพื่อให้ทราบประวัติความเป็นมาขอคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
2. เพื่อให้ทราบขั้นตอนในการออกแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
3. เพื่อให้ทรายขั้นตอนในการออกแบบการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์
4. เพื่อให้ทราบโครงสร้างของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
5. เพื่อให้ทราบประเภทของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
6. เพื่อให้ทราบคุณลักษณะของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
7. เพื่อใหทราบประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
8. เพื่อให้ทราบข้อพึงระวังในการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนวิชานวัตกรรมแห่งการเรียนรู้

........เริ่มจากที่ได้ทราบข่าวว่าจะต้องอบรม ก็รู้สึกว่าแล้วเราจะทำได้รึเปล่านี่ เพราะไม่มีความสามารถในด้านนี้เลย และพอตอนเย็นของวันนั้นนั่นเองท่านอาจารย์วิวรรธน์ ได้ทำให้หนูรู้ว่าการที่เรามีสมาธินั้นสามารถทำให้เราสามารถทำในสิ่งที่เราคิดว่ามันยากให้ง่ายขึ้นมาได้ คือเริ่มต้นจากการลากเส้น โดยอาจารย์สอนให้รู้ถึงจุดหมายที่จะไป และจงไปให้ถึงอย่างสวยงาม สิ่งที่ตามมาหลังจากการลากเส้น คือการใช้ปากกาในการวาดภาพ ซึ่งหนู่ไม่เคยเห็นมาก่อนและไมคิดว่าจะมีใครวาดได้ แต่แล้วสิ่งที่ว่ายากนั้นหนูก็สามารถทำมันได้ เพียงแค่ทำตามที่ท่านอาจารย์สอน รู้จักวิธีการใช้สีให้ถูกวิธี.......สิ่งที่ได้รับจากการเรียนในครั้งนี้ยังมีอีกมากมายซึ่งหนูขอลำดับไว้ดังนี้นะคะการประดิษฐ์ตัวอักษรหัวเรื่องและเนื้อหา** สูตรสี 3 แบบ คือ โทนร้อน โทนเย็น สีตัดกัน/กลมกลืนกัน** หลักการออกแบบ** การเข้าสุ่เมนูต่างๆของคอมพิวเตอร์ด้วยวิธีการหลายๆวิธี** การนำเสนองานด้วยโปรแกรม Microsoft Powerpoint** การตกแต่งและตัดแต่งรูปภาพด้วยโปรแกรม Photoshop** เทคนิคลัดในการใช้คอมพิวเตอร์** การสร้าง Blog ส่วนตัวเพื่อนำเสนอผลงานจากการเรียนวิชานี้จากการเรียนวิชานี้ สามารถทำให้หนูเป็นคนที่ร่วมสมัย และในอนาคตจะต้องเป็นครูที่ร่วมสมัยเหมือนอาจารย์ให้ได้ค่ะ

สื่อวัสดุกราฟิก "สีไม้"



ชื่อสื่อ The Zoo
ใช้สอนในช่วงชั้นที่ 3
****จุดประสงค์ของการใช้สื่อ
.......1.เพื่อให้นักเรียนได้เรียนคำศัพท์เกี่ยวกับสัตว์ที่อยู่ในรูปภาพ และนักเรียนสามารถบอกชื่อสัตว์ที่นอกเหนือจากรูปภาพได้
.......2.มุ่งให้นักเรียนสามารถตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องPreposition เกี่ยวกับคำศัพท์ในสื่อการสอนเรื่อง The zoo

****ขั้นนำสื่อไปใช้
1. นำเข้าสู่บทเรียนโดยการสอน Preposition โดยมคำดังต่อไปนี้acrossabovebelowoverunderbeforeafteraroundbetweenamongatbehindnearbesideoninoutsideinside 2. ขั้นPresent ใช้สื่อกราฟิกสีไม้นำเสนอคำศัพท์เกี่ยวกับสัตว์ในภาพ ครูยกตัวอย่างบทสนทนาที่เกี่ยวกับเนื่อเรื่องให้สอดคล้องกับกับรูปภาพ
3. ขั้นPracticeครูให้บทสนทนากับนักเรียนได้ฝึกสนทนาออกเสียง โดยมีครูคอยช่วยเหลือเมื่อเด็กไม่เข้าใจครูให้นักเรียนจับคู่สนทนาในหัวข้อสนทนาตามที่ครูกำหนดครูยกตัวอย่างโดยใช้ตัวอย่างจากสิ่งแวดล้อมภายในห้องเรียน
4.ขั้นProductครูให้นักเรียนวาดภาพตามความสนใจแล้วแต่งประโยคให้ครบตามที่ครูกำหนด

คำศัพท์ที่ใช้ในสื่อการฟิกสีไม้มีดังนี้
  1. Lion
  2. Dog
  3. Monkey
  4. Deer
  5. Whale
  6. Crab
  7. Bear
  8. Horse
  9. Elephant
  10. Pig
  11. Rabbbit
  12. Turtle
  13. Frog
  14. Dragonfly

****บทสนทนาที่ใช้ในเรื่องConversation

11.1 A : Where is lion?

B : A lion is between an elephant and a pig.

1.2 A : Where is an elephant?

B : An elephant is infront of a tree. Conversation

22.1 A : What 's an animal under a snail?

B : A snail is above a frog.

2.2 A : What 's an animal behind a deer?

B: A horse is behind a deer.Conversation

3.3.1 A : which animal does it start wich the latter "C"?

B : The animal start wich "C" is crab.

A : which animal do they start with the latter "D"?

B : Animal start which "D" are dog and deer.

ปัจจัยพื้นฐานของการออกแบบสื่อการสอน

1.เป้าหมายของการเรียนการสอน
เป็นสิ่งที่กำหนดพฤติกรรมขั้นสุดท้ายของผู้เรียนว่าจะมีลักษณะเช่นไร โดยทั่วไปนิยมกำหนดพฤติกรรมที่เป็นเป้าหมายของการเรียนการสอนไว้เป็น 3ลักษณะ
.......1.1 พฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain)เป็นพฤติกรรมที่แสดงว่าได้เกิดปัญญาความรู้ในเนื้อหาวิชานั้น ๆ แล้ว สามารถที่จะบอก อธิบาย วิเคราะห์ สังเคราะห์ หรือแก้ปัญหาเกี่ยวกับเนื้อหาความรู้นั้นได้
.......1.2 พฤติกรรมด้านทักษะพิสัย (Pyschomotor Domain) เป็นพฤติกรรมด้านทักษะของร่างกายในการเคลื่อนไหว ลงมือทำงาน หรือความว่องไวในการแก้ปัญหา
.......1.3 พฤติกรรมด้านเจตตพิสัย (Affective Domain) เป็นพฤติกรรมที่แสดงถึงความรู้สึกด้านอารมณ์ที่มีต่อสิ่งที่เรียนรู้และสภาพแวดล้อม ในการเรียนการสอนครั้งหนึ่ง ๆ ย่อมประกอบด้วยพฤติกรรมที่เป็นเป้าหมายหลายประการด้วยกัน สื่อการสอนที่จะนำมาใช้ หากจะต้องสนองต่อทุกพฤติกรรมแล้ว ย่อมมีลักษณะสับสนหรือซับซ้อน ในการออกแบบสื่อการสอน จึงต้องพิจารณาเลือกเฉพาะพฤติกรรมที่เป็นจุดเด่นของการเรียนการสอนนั้นมาเป็นพื้นฐานของการพิจารณาสื่อ
2. ลักษณะของผู้เรียน เนื้อหาและรายละเอรียนของสื่อชนิดหนึ่ง ๆ ย่อมแปรตามอายุ และความรู้พื้นฐานของผู้เรียน แต่โดยสภาพความเป็นจริงแล้ว ผู้เรียนแต่ละคนย่อมมีความแตกต่างกัน หากจะนำมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาสื่อย่อมทำไม่ได้ ในทางปฎิบัติจึงใช้ลักษณะของผู้เรียนในกลุ่มหลัก เป็นพื้นฐานของการพิจารณาสื่อก่อน หากจำเป็นจึงค่อยพิจารณาสื่อเฉพาะสำหรับผู้เรียนในกลุ่มพิเศษต่อไป
3. ลักษณะแวดล้อมของการผลิตสื่อ ได้แก่ลักษณะกิจกรรมการเรียน ซึ่งครูอาจจัดได้หลายรูปแบบ เช่น
........การสอนกลุ่มใหญ่ ในลักษณะของการบรรยายการสาธิต
........การสอนกลุ่มเล็ก
........การสอนเป็นรายบุคคลกิจกรรมการเรียนการสอนแต่ละลักษณะย่อมต้องการสื่อต่างประเภท ต่างขนาด เช่น สื่อประเภทสไลด์ ภาพยนต์มีความเหมาะสมกัยการเรียนในลักษณะกลุ่มใหญ่ วีดีโอ ภาพขนาดกลาง เหมาะกับการสอนกลุ่มเล็ก ส่วนสื่อสำหรับรายบุคคลจะต้องในลักษณะเฉพาะตัวที่จะเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ และวัดผลด้วยตนเอง
...สิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้สื่อ
ได้แก่ไฟฟ้าเป็นองค์ประกอบสำคัญการออกแบบสื่อสำหรับโรงเรียน หรือท้องถิ่นที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ ย่อมต้องหลีกเลี่ยงสื่อวัสดุฉาย...วัสดุพื้นบ้าน หรือวัสดุท้องถิ่น นากจากจะหาใช้ได้ง่ายแล้วยังจะช่วยให้ผู้เรียนได้มองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งที่เรียนรู้กับสภาพจริงในชีวิตประจำวันได้ดีกว่าอีกด้วย ดังรั้นสื่อเพื่อการสอนบรรลุเป้าหมายเดียวกีน อาจจะมีลักษณะแตกต่างกันตามสภาพของวัสดุพื้นบ้าน
....ลักษณะของสื่อ
ในการออกแบบและผลิตสื่อ จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ผลิตต้องมีความรู้เกี่ยวกับสื่อในเรื่องต่อไปนี้
.......4.1 ลักษณะเฉพาะตัวของสื่อ สื่อบางชนิดมีตวามเหมาะสมกับผู้เรียนบางระดับ หรือเหทมาะกับจำนวนผู้เรียนที่แตกต่างกัน เช่น แผนภาพจะใช้กับผู้เรียนที่มีพื้นฐานหรือประสบการณ์ในเรื่องนั้น ๆ มาก่อน ภาพการ์ตูนเหมาะสมกับเด็กประถมศึกษา ภาพยนต์เหมาะกับผู้เรียนที่เป็นกลุ่มใหญ่ วิทยุเหมาะกับการสอนมวลชน ฯลฯ
.......4.2 ขนาดมาตรฐานของสื่อ แม้ว่ายังไม่มีการกำหนดเป็นตัวเลขที่แน่นอน แต่ก็ถือเอาขนาดขั้นต่ำที่สามารถจะมองเห็นได้ชัดเจน และทั่วถึงเป็นเกณฑ์ในการผลิตสื่อ ส่วนสื่อวัสดุฉายจะต้องได้รับการเตรียมต้นฉบับให้พอดีที่จะไม่เกิดปัญหาในขณะถ่ายทำหรือมองเห็นรายละเอียดภายในชัดเจน เมื่อถ่ายทำขึ้นเป็นสื่อแล้ว การกำหนดขนาดของต้นฉบับให้ถือหลัก 3 ประการ ต่อไปนี้ คือ-การวาดภาพและการเขียนตัวหนังสือได้สะดวก-การเก็บรักษาต้นฉบับทำได้สะดวก-สัดส่วนของความกว้างยาวเป็นไปตามชนิดของวัสดุฉาย
...องค์ประกอบของการออกแบบ
... .........1. จุด ( Dots )
.........2. เส้น ( Line )
.........3. รูปร่าง รูปทรง ( Shape- Form )
.........4. ปริมาตร ( Volume )
.........5. ลักษณะพื้นผิว ( Texture )
.........6.บริเวณว่าง ( Space )
........7. สี ( Color )
.........8. น้ำหนักสื่อ ( Value )

การเลือกสื่อ การดัดแปลง และการออกแบบสื่อ

++การเลือกสื่อ++
การดัดแปลง และการออกแบบสื่อ(Select , Modify , or Design Materials )
การเลือกสื่อที่เหมาะสมนั้นต้องพิจารณาตามหลัก 3 ประการ คือ
1. การเลือกสื่อที่มีอยู่แล้ว ส่วนใหญ่ในสถาบันการศึกษามักจะมีทรัพยากรที่สามารถใช้เป็นสื่อได้อยู่แล้ว ดังนั้น สิ่งที่ผู้สอนต้องกระทำก็คือ ตรวจสอบดูว่ามีสิ่งใดที่จะใช้เป็นสื่อได้บ้าง โดยเลือกให้ตรงกับลักษณะผู้เรียนและวัตถุประสงค์
2. การดัดแปลงสื่อที่มีอยู่แล้ว ให้ใช้ได้ดีและเหมาะสมมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ย่อมขึ้นกับเวลาและงบประมาณในการดัดแปลงสื่อด้วย
3. การออกแบบผลิตสื่อใหม่ ถ้าสื่อนั้นมีอยู่แล้วและตรงกับจุดมุ่งหมายของการเรียนการ สอน เราก็สามารถนำมาใช้ได้เลยแต่ถ้ามีอยู่โดยไม่ตรงกับจุดมุ่งหมายเราก็ใช้วิธีดัดแปลงได้ แต่ถ้าไม่มีสื่อตามที่ต้องการก็ต้องผลิตสื่อใหม่
*********************************
การออกแบบผลิตสื่อใหม่ ควรคำนึงถึง
1. จุดมุ่งหมาย ต้องพิจารณาว่าต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนอะไร
2. ผู้เรียน ควรได้พิจารณาผู้เรียนทั้งโดยรวมว่าเป็นใคร มีความรู้พื้นฐานและทักษะอะไรมาก่อน
3. ค่าใช้จ่าย มีงบประมาณเพียงพอหรือไม่
4. ความเชี่ยวชาญด้านเทคนิค ถ้าตนเองไม่มีทักษะจะหาผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้านมาจากแหล่งใด
5. เครื่องมืออุปกรณ์ มีเครื่องมืออุปกรณ์ที่จำเป็นพอเพียงต่อการผลิตหรือไม่
6. สิ่งอำนวยความสะดวก มีอยู่แล้วหรือสามารถจะจัดหาอย่างไร
7. เวลา มีเวลาพอสำหรับการออกแบบหรือไม่
**********************************
....การวัดผลของสื่อและวิธีการหลังจากที่เราออกแบบสื่อแล้วแล้วนำมาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน ก็ควรมีการวัดผลของสื่อ เป็นการวัดประสิทธิภาพของสื่อ ความคุ้มค่าของสื่อต่อผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ วัดเพื่อปรับปรุงสื่อวัดผลถึงระยะเวลาที่ในการนำเสนอสื่อว่าพอเหมาะหรือมากเกินความจำเป็น การวัดผลสื่อนี้เพื่อผลในการใช้ดัดแปลงปรับปรุงให้ดีขึ้นสำหรับการนำไปใช้ในอนาคต เราสามารถที่จะนำเอาผลการอภิปรายในชั้นเรียน การสัมภาษณ์ และการสังเกตผู้เรียนมาใช้เป็นแนวทางในการวัดผลสื่อได้

....การติดตามและประเมินผลการใช้สื่อการสอนโนเอล และ ริโอนาร์ด ได้ให้หลักเกณฑ์ในการติดตามและประเมินผลการใช้สื่อดังนี้ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อติดตามผล ดังนี้
1. ร่วมกันอภิปรายเนื้อหาที่สำคัญ ในระหว่างการใช้โสตทัศนูปกรณ์
2. ร่วมกันทำความเข้าใจเนื้อหาที่ยังไม่เข้าใจ
3. ครูอธิบายความคิดรวบยอดให้เด็กเข้าใจได้ชัดเจน
4. ร่วมกันจัดกิจกรรมต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์การเรียนรู้
5. ร่วมกันวางแผนในการนำผลการเรียนรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาอื่น ๆ หรือการเรียนในเรื่องอื่น ๆ ต่อไป
6. ผู้สอนสำรวจดูว่าการใช้สื่อการสอนได้บรรลุตามจุดมุ่งหมายหรือไม่ อาจทำได้ดังนี้
7. ผู้สอนวิจารณ์ผลการเรียนโดยใช้สื่อการสอน
8. ผู้สอนอาจใช้แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ของผู้เรียน แต่การทดสอบนั้นต้องเป็นไปตามจุดมุ่งหมาย เช่น ถ้าต้องการทราบความเข้าใจก็ต้องออกแบบทดสอบวัดความเข้าใจ ไม่ควรใช้แบบทดสอบความจำ และไม่ควรใช้แบบทดสอบที่มีความซับซ้อนจนเกินไป

เอ็ดการ์ เดล (Edgar Dale) ให้ผู้ใช้ประเมินผลการใช้สื่อการสอนจากคำถามที่ว่า สื่อการสอนเหล่านั้นมีคุณลักษณะดังต่อไปนี้หรือไม่ เพียงไร
1. ให้ภาพพจน์ที่แท้จริงในการสอน
2. ให้เนื้อหาวิชาตรงตามจุดมุ่งหมาย
3. เหมาะสมกับวัย สติปัญญา และประสบการณ์ของผู้เรียน
4. สภาพรูปร่าง และลักษณะของโสตทัศนวัสดุเหล่านั้นเป็นที่พอใจ
5. มีผู้ให้คำแนะนำแก่ครูในการใช้โสตทัศนวัสดุเหล่านั้นให้ได้ประโยชน์
6. ช่วยในการสร้างมนุษยสัมพันธ์
7. ช่วยให้นักเรียนใช้ความคิดพิจารณา
8. ให้ผลคุ้มค่ากับเวลา ค่าใช้จ่าย และความพยายามที่ได้ทำไป
****ความหมายของสี
....สี หมายถึง แสงที่ตกกระทบวัตถุแล้วสะท้อนเข้าสู่ตาเรา ทำให้มองเห็นวัตถุเหล่านั้นเป็นสีต่างๆตามคุณลักษณะของแสงที่สะท้อนการมิติใช้ในการออกแบบ
• มิติ..สีโทนร้อน/สีโทนเย็น
• มิติ..สีกลมกลืน/สีตัดกัน
• มิติ..สีมืด/สีสว่างเส้นเส้น เป็นองค์ประกอบที่มีรูปลักษณะเป็นรอยยาวต่อเนื่องกันหน้าที่สำคัญของเส้น คือ การแสดงทิศทาง
.....ลักษณะของเส้นจำแนกได้เป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มเส้นตรงและกลุ่มเส้นไม่ตรงกลุ่มเส้นตรง
..เส้นตรงตั้งฉาก ให้ความรู้สึกมั่นคง สง่าเส้นตรงแนวนอน ให้ความรู้สึกสงบเงียบ ราบเรียบ
...เส้นตรงเฉียงให้ความรู้สึกรวดเร็ว ไม่มั่นคง ไม่แน่กลุ่มเส้นไม่ตรง
...เส้นโค้งให้ความรู้สึกนุ่มนวล อ่อนหวานให้ความรู้สึกสับสน งุนงง กังวลให้ความรู้สึกรุนแรง ไม่ไว้ใจ ตื่นเต้นพื้นผิวพื้นผิวเป็นองค์ประกอบที่ให้ความรู้สึกสัมผัสด้านนอกสุดของวัตถุสิ่งของ
......พื้นผิวมี 2 มิติ ได้แก่
1. มิติพื้นผิวเรียบ/พื้นผิวขรุขระ
2. มิติพื้นผิวด้าน/พื้นผิวมันวาวการใช้พื้นผิว กับการออกแบบ
** พื้นผิวเรียบ ให้ความรู้สึกมีระเบียบ จริงจัง
*** พื้นผิวขรุขระ ให้ความรู้สึกน่ากลัว ลึกลับ
*** พื้นผิวด้าน ให้ความรู้สึกเป็นกันเอง สบายๆ
*** พื้นผิวมันวาว ให้ความรู้สึกตื่นเต้น รวดเร็ว จุดเป็นองค์ประกอบที่มีขนาดเล็กที่สุดทำหน้าที่สำคัญ คือ การแสดงตำแหน่งการวางจุดตั้งแต่ 2 จุดขึ้นไปเรียงไปในทิศทางเดียวกันจะทำให้ดูเป็นเส้นแต่ ถ้าวางตำแหน่งไว้ใกล้กันเป็นกลุ่มก้อนจะแลดูเป็นรูปร่างรูปทรงรูปร่างรูปร่างเป็นลักษณะของพื้นที่ภายในที่ถูกล้อมด้วยเส้นเส้นเดียวที่ลากปลายด้านใดด้านหนึ่งมาบรรจบกันหรือบรรจบช่วงใดช่วงหนึ่งของเส้น ส่วนพื้นที่ด้านนอกของรูปร่างเรียกว่า “พื้น”(ground)รูปร่างมีลักษณะเป็น 2 มิติคือความกว้างกับความยาว รูปร่างที่มีขนาดใหญ่สามารถรองรับองค์ประกอบอื่นได้รูปทรงรูปทรงมีลักษณะเหมือนกับรูปร่าง แต่
****รูปทรงมี 3 มิติ ได้แก่ ความกว้าง ความยาวและความหนาหรือความลึก
***การจัดภาพ หมายถึง การนำองค์ประกอบต่างๆมาเรียบเรียงหรือจัดวางให้ได้ภาพตามที่ต้องการ การจัดภาพจึงเป็นการออกแบบเพื่อการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดให้เป็นรูปธรรมหลักการออกแบบการออกแบบให้บรรลุวัตถุประสงค์ควรคำนึงถึงหลักใหญ่ๆ 2 ประการ คือ หน้าที่(function) ของชิ้นงาน และความสวยงาม(beauty) ของชิ้นงาน
***ความสมดุล
หมายถึง ความเท่ากัน เสมอกัน เป็นการออกแบบให้วัตถุนั้นๆสามารถทรงตัวอยู่ได้อย่างมั่นคง แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1. ความสมดุลที่เหมือนกันทั้งสองข้างเท่ากัน(Symmetrical/Formal Balance)
2. ความสมดุลทั้งสองข้างไม่เท่ากัน(Asymmetrical/Informal or Occult Balance)ความกลมกลืน หมายถึง การประสานกัน หรือเป็นการรวมหน่วยต่างๆ ของส่วนประกอบของการออกแบบให้ดูแลเหมาะสมกลมกลืนเป็นหน่วยเดียวกัน มีหลักดังต่อไปนี้
.......1. ความกลมกลืนที่ทำให้เส้นไปในทางเดียวกัน
.......2. ความกลมกลืนกันคล้ายคลึงกัน หรือเท่ากัน
........3. ความกลมกลืนของรูปร่างและรูปทรง
........4. ความกลมกลืนของพื้นผิว
........5. ความกลมกลืนของสี
........6. ความกลมกลืนในด้านความคิดความแตกต่าง หรือ การตัดกันหมายถึง การออกแบบที่ไม่ให้เกิดการซ้ำซาก โดยจัดส่วนประกอบของการออกแบบ เช่น มีรูปร่าง พื้นผิว สี แตกต่างกันออกไป

การเรียนโปรแกรมPhoto shop

......Photoshop เป็นโปรแกรมในตระกูล Adobe เป็นโปรแกรมที่ใช้ตกแต่งภาพหัวใจของ Photoshop คือการทำงานเป็น LayerLayer คือ ชั้นของรูปภาพ วัตถุ จะไม่เกี่ยวข้องกันการตั้งค่าหน้ากระดาษ มีวิธีการดังนี้ไปที่ เมนู File > New จะกำหนดค่าต่างๆคือ



...............Width : กำหนดความกว้าง.


..............Height :กำหนดความสูงควรเปลี่ยนหน่วยวัดด้านหลังก่อนกำหนดตัวเลข เช่น inches, pixels, cm ,mm


..............Resolotion : กำหนดเป็น 300Mode :


..............กำหนดโหมดสี ควรกำหนดเป็น RGB ก่อน เป็นสีของแสง


**สีที่ใช้ในโรงพิมพ์ Picment คือ เม็ดสี ฝุ่นสีก็คือโหมด CMYK* C = Cyan สีฟ้า* M= Mageta สีม่วงแดง* Y=Yellow สีเหลือง* K=Black สีดำ* Content กำหนด BackgroundWhite พื้นจะเป็นสีขาวTransparent พื้นจะเป็นสีใส หรือ โปร่งแสง


**การเปิดภาพที่เราต้องการ มีวิธีการดังนี้ไปที่เมนู File > Open เลือก ไฟล์ต่างๆที่ต้องการภาพ หากต้องการมองภาพให้ทำให้เป็น thumbnailsแล้วดับเบิลคลิกที่ภาพจะได้ภาพที่ต้องการ
........................................................

**การตัดภาพ
การตัดภาพการตัดภาพในโปรแกรม Photoshop สามารถใช้เครื่องมือได้หลายชนิด เช่นไปที่ Elliptical Marquee tool แล้วลากที่ภาพ จะขึ้นเป็นเส้นselection ถ้าต้องการยกเลิกมี 3 วิธี
1. คลิกที่ภาพ
2. Ctrl + D
3. ไปที่เมนู Select > Deselectเมื่อลากที่ภาพแล้วใช้ Arrow Key เลื่อน
........................................................

**การทำภาพเพิ่ม
1. ไปที่ Edit > Copy แล้วไปที่ Edit > Paste เส้น Select จะหายไป ได้ Layerที่
2. Ctrl+T หรือ ไปที่เมนู Edit >Free Tranfrom
3. กด Shift ย่อภาพที่มุม
4. Ctrl +T
5. ลากกลับภาพ แล้ว enter Ctrl +T จะหาย
........................................................

**ขั้นตอนการตกแต่งภาพ
.....1. Double คลิก Layer2 จะเป็น Layer Style เลือก Bevel and Emboss การทำให้นูน
.....2. ตั้งค่า ต่างๆ smooth, depth, size, soften ให้ภาพดูสวย
.....3. Double คลิก Layer 2 เลือก Drop Shadow ใส่เงา ตั้งค่าตามต้องการ
.....4. ไปที่ Opacity เป็นการปรับภาพให้จางลง
........................................................

**การแก้ไขงาน
ทำได้ 2 วิธี คือ
......1. Ctrl + Z เป็นการกลับไปยังคำสั่งสุดท้าย
......2. ไปที่ History เลือกกลับไปยังครั้งที่ต้องการแก้ไข
.....การตัดพื้นการใช้ Polygonal Lasso Tool

.....คลิกที่ภาพแล้วปล่อยจึงคลิกที่ภาพต่อไปเรื่อยๆ ถ้าต้องการตัดพื้นหลังออกให้คลิกในพื้นหลังจนกลับถึงจุดแรกให้เป็นเส้น select แล้วลบ พื้นหลังจะถูกลบออก ทำเช่นนี้ต่อไปจนได้ภาพที่ต้องการ แล้วจึงใช้ยางลบ ลบพื้นหลังที่ที่ยังเหลือให้มีเพียงภาพ แล้วจึงค่อยตกแต่ง
........................................................

.....การบันทึกงาน
สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้
1. การ Save งานในนามสกุล PSD เพื่อสามารถไว้แก้ไข แต่จะเปลืองพื้นที่ มีวิธีการดังนี้
1.1. เลือกเมนู File > Save as
1.2. กำหนด Folder ที่จะเก็บงาน ชื่อและประเภทของไฟล์ ที่จะ save
1.3. กำหนดค่าต่างๆ และที่ช่อง save กำหนดเป็น สกุลของ Photoshop คือ .psd

2. การ Save งานในนามสกุล JPEG เป็นการ save ที่ไม่สามารถแก้ไขงานได้ เป็นงานที่สมบูรณ์แล้ว แต่เป็นการsave ที่ไม่เปลืองพื้นที่
3. การ Save งานในนามสกุล GIF เป็นการ save ที่ไม่สามรถแก้ไขงานได้ เป็นงานที่สมบูรณ์แล้ว แต่จะเป็นการ save ที่จะไม่ติดพื้นหลังมาด้วยเมื่อมีการตัดภาพ (พื้นโปร่ง)

........................................................
++