วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2550

การเลือกสื่อ การดัดแปลง และการออกแบบสื่อ

++การเลือกสื่อ++
การดัดแปลง และการออกแบบสื่อ(Select , Modify , or Design Materials )
การเลือกสื่อที่เหมาะสมนั้นต้องพิจารณาตามหลัก 3 ประการ คือ
1. การเลือกสื่อที่มีอยู่แล้ว ส่วนใหญ่ในสถาบันการศึกษามักจะมีทรัพยากรที่สามารถใช้เป็นสื่อได้อยู่แล้ว ดังนั้น สิ่งที่ผู้สอนต้องกระทำก็คือ ตรวจสอบดูว่ามีสิ่งใดที่จะใช้เป็นสื่อได้บ้าง โดยเลือกให้ตรงกับลักษณะผู้เรียนและวัตถุประสงค์
2. การดัดแปลงสื่อที่มีอยู่แล้ว ให้ใช้ได้ดีและเหมาะสมมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ย่อมขึ้นกับเวลาและงบประมาณในการดัดแปลงสื่อด้วย
3. การออกแบบผลิตสื่อใหม่ ถ้าสื่อนั้นมีอยู่แล้วและตรงกับจุดมุ่งหมายของการเรียนการ สอน เราก็สามารถนำมาใช้ได้เลยแต่ถ้ามีอยู่โดยไม่ตรงกับจุดมุ่งหมายเราก็ใช้วิธีดัดแปลงได้ แต่ถ้าไม่มีสื่อตามที่ต้องการก็ต้องผลิตสื่อใหม่
*********************************
การออกแบบผลิตสื่อใหม่ ควรคำนึงถึง
1. จุดมุ่งหมาย ต้องพิจารณาว่าต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนอะไร
2. ผู้เรียน ควรได้พิจารณาผู้เรียนทั้งโดยรวมว่าเป็นใคร มีความรู้พื้นฐานและทักษะอะไรมาก่อน
3. ค่าใช้จ่าย มีงบประมาณเพียงพอหรือไม่
4. ความเชี่ยวชาญด้านเทคนิค ถ้าตนเองไม่มีทักษะจะหาผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้านมาจากแหล่งใด
5. เครื่องมืออุปกรณ์ มีเครื่องมืออุปกรณ์ที่จำเป็นพอเพียงต่อการผลิตหรือไม่
6. สิ่งอำนวยความสะดวก มีอยู่แล้วหรือสามารถจะจัดหาอย่างไร
7. เวลา มีเวลาพอสำหรับการออกแบบหรือไม่
**********************************
....การวัดผลของสื่อและวิธีการหลังจากที่เราออกแบบสื่อแล้วแล้วนำมาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน ก็ควรมีการวัดผลของสื่อ เป็นการวัดประสิทธิภาพของสื่อ ความคุ้มค่าของสื่อต่อผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ วัดเพื่อปรับปรุงสื่อวัดผลถึงระยะเวลาที่ในการนำเสนอสื่อว่าพอเหมาะหรือมากเกินความจำเป็น การวัดผลสื่อนี้เพื่อผลในการใช้ดัดแปลงปรับปรุงให้ดีขึ้นสำหรับการนำไปใช้ในอนาคต เราสามารถที่จะนำเอาผลการอภิปรายในชั้นเรียน การสัมภาษณ์ และการสังเกตผู้เรียนมาใช้เป็นแนวทางในการวัดผลสื่อได้

....การติดตามและประเมินผลการใช้สื่อการสอนโนเอล และ ริโอนาร์ด ได้ให้หลักเกณฑ์ในการติดตามและประเมินผลการใช้สื่อดังนี้ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อติดตามผล ดังนี้
1. ร่วมกันอภิปรายเนื้อหาที่สำคัญ ในระหว่างการใช้โสตทัศนูปกรณ์
2. ร่วมกันทำความเข้าใจเนื้อหาที่ยังไม่เข้าใจ
3. ครูอธิบายความคิดรวบยอดให้เด็กเข้าใจได้ชัดเจน
4. ร่วมกันจัดกิจกรรมต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์การเรียนรู้
5. ร่วมกันวางแผนในการนำผลการเรียนรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาอื่น ๆ หรือการเรียนในเรื่องอื่น ๆ ต่อไป
6. ผู้สอนสำรวจดูว่าการใช้สื่อการสอนได้บรรลุตามจุดมุ่งหมายหรือไม่ อาจทำได้ดังนี้
7. ผู้สอนวิจารณ์ผลการเรียนโดยใช้สื่อการสอน
8. ผู้สอนอาจใช้แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ของผู้เรียน แต่การทดสอบนั้นต้องเป็นไปตามจุดมุ่งหมาย เช่น ถ้าต้องการทราบความเข้าใจก็ต้องออกแบบทดสอบวัดความเข้าใจ ไม่ควรใช้แบบทดสอบความจำ และไม่ควรใช้แบบทดสอบที่มีความซับซ้อนจนเกินไป

เอ็ดการ์ เดล (Edgar Dale) ให้ผู้ใช้ประเมินผลการใช้สื่อการสอนจากคำถามที่ว่า สื่อการสอนเหล่านั้นมีคุณลักษณะดังต่อไปนี้หรือไม่ เพียงไร
1. ให้ภาพพจน์ที่แท้จริงในการสอน
2. ให้เนื้อหาวิชาตรงตามจุดมุ่งหมาย
3. เหมาะสมกับวัย สติปัญญา และประสบการณ์ของผู้เรียน
4. สภาพรูปร่าง และลักษณะของโสตทัศนวัสดุเหล่านั้นเป็นที่พอใจ
5. มีผู้ให้คำแนะนำแก่ครูในการใช้โสตทัศนวัสดุเหล่านั้นให้ได้ประโยชน์
6. ช่วยในการสร้างมนุษยสัมพันธ์
7. ช่วยให้นักเรียนใช้ความคิดพิจารณา
8. ให้ผลคุ้มค่ากับเวลา ค่าใช้จ่าย และความพยายามที่ได้ทำไป
****ความหมายของสี
....สี หมายถึง แสงที่ตกกระทบวัตถุแล้วสะท้อนเข้าสู่ตาเรา ทำให้มองเห็นวัตถุเหล่านั้นเป็นสีต่างๆตามคุณลักษณะของแสงที่สะท้อนการมิติใช้ในการออกแบบ
• มิติ..สีโทนร้อน/สีโทนเย็น
• มิติ..สีกลมกลืน/สีตัดกัน
• มิติ..สีมืด/สีสว่างเส้นเส้น เป็นองค์ประกอบที่มีรูปลักษณะเป็นรอยยาวต่อเนื่องกันหน้าที่สำคัญของเส้น คือ การแสดงทิศทาง
.....ลักษณะของเส้นจำแนกได้เป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มเส้นตรงและกลุ่มเส้นไม่ตรงกลุ่มเส้นตรง
..เส้นตรงตั้งฉาก ให้ความรู้สึกมั่นคง สง่าเส้นตรงแนวนอน ให้ความรู้สึกสงบเงียบ ราบเรียบ
...เส้นตรงเฉียงให้ความรู้สึกรวดเร็ว ไม่มั่นคง ไม่แน่กลุ่มเส้นไม่ตรง
...เส้นโค้งให้ความรู้สึกนุ่มนวล อ่อนหวานให้ความรู้สึกสับสน งุนงง กังวลให้ความรู้สึกรุนแรง ไม่ไว้ใจ ตื่นเต้นพื้นผิวพื้นผิวเป็นองค์ประกอบที่ให้ความรู้สึกสัมผัสด้านนอกสุดของวัตถุสิ่งของ
......พื้นผิวมี 2 มิติ ได้แก่
1. มิติพื้นผิวเรียบ/พื้นผิวขรุขระ
2. มิติพื้นผิวด้าน/พื้นผิวมันวาวการใช้พื้นผิว กับการออกแบบ
** พื้นผิวเรียบ ให้ความรู้สึกมีระเบียบ จริงจัง
*** พื้นผิวขรุขระ ให้ความรู้สึกน่ากลัว ลึกลับ
*** พื้นผิวด้าน ให้ความรู้สึกเป็นกันเอง สบายๆ
*** พื้นผิวมันวาว ให้ความรู้สึกตื่นเต้น รวดเร็ว จุดเป็นองค์ประกอบที่มีขนาดเล็กที่สุดทำหน้าที่สำคัญ คือ การแสดงตำแหน่งการวางจุดตั้งแต่ 2 จุดขึ้นไปเรียงไปในทิศทางเดียวกันจะทำให้ดูเป็นเส้นแต่ ถ้าวางตำแหน่งไว้ใกล้กันเป็นกลุ่มก้อนจะแลดูเป็นรูปร่างรูปทรงรูปร่างรูปร่างเป็นลักษณะของพื้นที่ภายในที่ถูกล้อมด้วยเส้นเส้นเดียวที่ลากปลายด้านใดด้านหนึ่งมาบรรจบกันหรือบรรจบช่วงใดช่วงหนึ่งของเส้น ส่วนพื้นที่ด้านนอกของรูปร่างเรียกว่า “พื้น”(ground)รูปร่างมีลักษณะเป็น 2 มิติคือความกว้างกับความยาว รูปร่างที่มีขนาดใหญ่สามารถรองรับองค์ประกอบอื่นได้รูปทรงรูปทรงมีลักษณะเหมือนกับรูปร่าง แต่
****รูปทรงมี 3 มิติ ได้แก่ ความกว้าง ความยาวและความหนาหรือความลึก
***การจัดภาพ หมายถึง การนำองค์ประกอบต่างๆมาเรียบเรียงหรือจัดวางให้ได้ภาพตามที่ต้องการ การจัดภาพจึงเป็นการออกแบบเพื่อการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดให้เป็นรูปธรรมหลักการออกแบบการออกแบบให้บรรลุวัตถุประสงค์ควรคำนึงถึงหลักใหญ่ๆ 2 ประการ คือ หน้าที่(function) ของชิ้นงาน และความสวยงาม(beauty) ของชิ้นงาน
***ความสมดุล
หมายถึง ความเท่ากัน เสมอกัน เป็นการออกแบบให้วัตถุนั้นๆสามารถทรงตัวอยู่ได้อย่างมั่นคง แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1. ความสมดุลที่เหมือนกันทั้งสองข้างเท่ากัน(Symmetrical/Formal Balance)
2. ความสมดุลทั้งสองข้างไม่เท่ากัน(Asymmetrical/Informal or Occult Balance)ความกลมกลืน หมายถึง การประสานกัน หรือเป็นการรวมหน่วยต่างๆ ของส่วนประกอบของการออกแบบให้ดูแลเหมาะสมกลมกลืนเป็นหน่วยเดียวกัน มีหลักดังต่อไปนี้
.......1. ความกลมกลืนที่ทำให้เส้นไปในทางเดียวกัน
.......2. ความกลมกลืนกันคล้ายคลึงกัน หรือเท่ากัน
........3. ความกลมกลืนของรูปร่างและรูปทรง
........4. ความกลมกลืนของพื้นผิว
........5. ความกลมกลืนของสี
........6. ความกลมกลืนในด้านความคิดความแตกต่าง หรือ การตัดกันหมายถึง การออกแบบที่ไม่ให้เกิดการซ้ำซาก โดยจัดส่วนประกอบของการออกแบบ เช่น มีรูปร่าง พื้นผิว สี แตกต่างกันออกไป

ไม่มีความคิดเห็น:

++