วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2550
การใช้สื่อการสอน
2. ใช้สื่อการสอนในขั้นประกอบการสอนหรือขั้นดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อช่วยให้ความกระจ่างในเนื้อหาที่เรียนหรือทำให้ผู้เรียน เรียนรู้ได้ง่ายขึ้นและเข้าใจข้อเท็จจริงในเนื้อหาอย่างแท้จริงในรูปของการเกิด Concept เข้าใจหลักการสำคัญ และมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในแนวทางที่ดีขึ้นตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ได้กำหนดไว้
3. ใช้สื่อการสอนเพื่อขยายขอบเขตความรู้ของผู้เรียนให้ก้าวหน้าและเจริญงอกงามทั้งในด้านความกว้างและความลึกของภูมิปัญญา ซึ่งเป็นผลของการเรียนอย่างแท้จริง4. ใช้สื่อการสอนเพื่อย่อสรุปเนื้อหาสำคัญของบทเรียนเกิดเป็น Concept ในเนื้อหาแต่ละเรื่อง5. ใช้สื่อการสอนเพื่อส่งเสริมผู้เรียนให้มีการฝึกและพัฒนาตนเองให้รู้จักขั้นตอนและมีความคิดสร้างสรรค์ (Control and Creativity)
***ที่มา:http://www.la.ubu.ac.th/
ประเภทของสื่อการสอน
ประเภทของสื่อการสอน...เอ็ดการ์ เดล จำแนกประสบการณ์ทางการศึกษา เรียงลำดับจากประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมไปสู่ประสบการณ์ที่เป็นนามธรรม โดยยึดหลักว่า คนเราสามารถเข้าใจสิ่งที่เป็นรูปธรรมได้ดีและเร็วกว่าสิ่งที่เป็นนามธรรมซึ่งเรียกว่า "กรวยแห่งประสบการณ์" (Cone of Experiences) ซึ่งมีทั้งหมด 10 ขั้น ดังแผนภาพต่อไป...
...ศาสตราจารย์สำเภา วรางกูร ได้แบ่งประเภทและชนิดของสื่อการสอน ดังนี้ประเภทวัสดุโสตทัศน์ (Audio-Visual Materials)
1. ประเภทภาพประกอบการสอน(Picture Instructional Materials)
- ภาพที่ไม่ต้องฉาย (Unprojected Pictures)
- ภาพเขียน (Drawing)ภาพแขวนผนัง (Wall Pictures)
- ภาพตัด (Cut-out Pictures)
- สมุดภาพ (Pictorial Books, Scrapt Books)
- ภาพถ่าย (Photographs)
- ภาพที่ต้องฉาย (Project Pictures)
- สไลด์ (Slides) ฟิล์มสตริป (Filmstrips)
- ภาพทึบ (Opaque Projected Pictures)
- ภาพโปร่งแสง (Transparencies)
- ภาพยนตร์ 16 มม., 8 มม., (Motion Pictures)
- ภาพยนตร์ (Video Tape)
2. ประเภทวัสดุอุปกรณ์ลายเส้น (Graphic Instructional Materials)
- แผนภูมิ (Charts)
- กราฟ (Graphs)
- แผนภาพ (Diagrams)
- โปสเตอร์ (Posters)
- การ์ตูน (Cartoons, Comic strips)
- รูปสเก็ช (Sketches)
- แผนที่ (Maps)
- ลูกโลก (Globe)
3. ประเภทกระดานและแผ่นป้ายแสดง (Instructional Boards and Displays)
- กระดานดำหรือกระดานชอล์ก (Blackboard,Chalk Board)
- กระดานผ้าสำลี (Flannel Boards)
- กระดานนิเทศ (Bulletin Boards)
- กระดานแม่เหล็ก (Magnetic Boards)
- กระดานไฟฟ้า (Electric Boards)
4. ประเภทวัสดุสามมิติ (Three-Dimensional Materials) มีดังนี้
- หุ่นจำลอง (Models)
- ของตัวอย่าง (Specimens)
- ของจริง (Objects)
- ของล้อแบบ (Mock-Ups)
- นิทรรศการ (Exhibits)
- ไดออรามา (Diorama)
- กระบะทราย (Sand Tables)
5. ประเภทโสตวัสดุ (Auditory Instructional Materials)
- แผ่นเสียง (Disc Recorded Materials)
- เทปบันทึกเสียง (Tape Recorded Materials)
- รายการวิทยุ (Radio Program)
6. ประเภทกิจกรรมและการละเล่น (Instructional Activities and Plays)
- การทัศนาจรศึกษา (Field Trip)
- การสาธิต (Demonstrations)
- การทดลอง (Experiments)
- การแสดงแบบละคร (Drama)
- การแสดงบทบาท (Role Playing)
- การแสดงหุ่น (Pupetry)
- ประเภทเครื่องมือโสตทัศนูปกรณ์ (Audio-Visual Equipments)
- เครื่องฉายภาพยนตร์ 16 มม. , 8 มม.
- เครื่องฉายสไลด์และฟิล์มสตริป (Slide and Filmstrip Projector)
- เครื่องฉายภาพทึบแสง (Opaque Projectors)
- เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ (Overhead Projector)
- เครื่องฉายกระจกภาพ (3 1/4 "x 4" หรือ Lantern Slide Projector)
- เครื่องฉายภาพจุลทัศน์ (Micro-Projector)
- เครื่องเล่นจานเสียง (Record Plays)
- เครื่องเทปบันทึกภาพ (Video Recorder)
- เครื่องรับโทรทัศน์ (Television Receiver)
- จอฉายภาพ (Screen)
- เครื่องรับวิทยุ(Radio Receive)
- เครื่องขยายเสียง(Amplifier)
- อุปกรณ์เทคโนโลยีแบบใหม่ต่างๆ (Modern Instructional Technology Devices) เช่น โทรทัศนศึกษา ห้องปฏิบัติการภาษา
- โปรแกรมเรียน (Programmed Learning) และอื่นๆ
........จากการศึกษาถึงความสำคัญ ตลอดจนการแบ่งประเภทและชนิดของสื่อการสอนข้างต้น ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของสื่อการสอนที่มีบทบาทในการทำให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ดี แม้สื่อการสอนจะมีความสำคัญและมีประโยชน์มาก แต่ก็ต้องอาศัยเทคนิคในการใช้สื่อการสอนด้วย ซึ่งในเรื่องนี้ได้มีนักวิชาการให้ข้อคิดในการใช้สื่อต่าง ๆ กับการสร้างแบบการเรียนรู้ ดังจะกล่าวต่อไปนี้
****หลักในการใช้สื่อหลักในการใช้สื่อ
ในการพิจารณาเลือกใช้สื่อการสอนแต่ละครั้งครูควรพิจารณาถึงความเหมาะสมของสื่อการสอนแต่ละชนิด ดังนี้
...1. ความเหมาะสม สื่อที่จะใช้นั้นเหมาะสมกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของการสอนหรือไม่
...2. ความถูกต้อง สื่อที่จะใช้ช่วยให้นักเรียนได้ข้อสรุปที่ถูกต้องหรือไม่
...3. ความเข้าใจ สื่อที่จะใช้นั้นควรช่วยให้นักเรียนรู้จักคิดอย่างมีเหตุผลและให้ข้อมูลที่ถุกต้องแก่นักเรียน
...4. ประสบการณ์ที่ได้รับ สื่อที่ใช้นั้นช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์ให้แก่นักเรียน
...5. เหมาะสมกับวัย ระดับความยากง่ายของเนื้อหาที่บรรจุอยู่ในสื่อชนิดนั้น ๆ เหมาะสมกับระดับความสามารถ ความสนใจ และความต้องการของนักเรียนหรือไม่
...6. เที่ยงตรงในเนื้อหา สื่อนั้นช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้เนื้อหาที่ถูกต้องหรือไม่
...7. ใช้การได้ดี สื่อที่นำมาใช้ควรทำให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้ได้ดี
...8. คุ้มค่ากับราคา ผลที่ได้จะคุ้มค่ากับเวลา เงิน และการจัดเตรียมสื่อนั้นหรือไม่
...9. ตรงกับความต้องการ สื่อนั้นช่วยให้นักเรียนร่วมกิจกรรมตามที่ครูต้องการหรือไม่
...10. ช่วยเวลาความสนใจ สื่อนั้นช่วยกระตุ้นให้นักเรียนสนใจในช่วงเวลานานพอสมควรหรือไม่
ความหมายและประโยชน์ของสื่อการสอน
นักวิชาการในวงการเทคโนโลยีทางการศึกษา โสตทัศนศึกษา และวงการการศึกษา ได้ให้คำจำกัดความของ “สื่อการสอน” ไว้อย่างหลากหลาย เช่น
.......ชอร์ส กล่าวว่า เครื่องมือที่ช่วยสื่อความหมายจัดขึ้นโดยครูและนักเรียน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เครื่องมือการสอนทุกชนิดจัดเป็นสื่อการสอน เช่น หนังสือในห้องสมุด โสตทัศนวัสดุต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ สไลด์ ฟิล์มสตริป รูปภาพ แผนที่ ของจริง และทรัพยากรจากแหล่งชุมชน
.......บราวน์ และคณะ กล่าวว่า จำพวกอุปกรณ์ทั้งหลายที่สามารถช่วยเสนอความรู้ให้แก่ผู้เรียนจนเกิดผลการเรียนที่ดี ทั้งนี้รวมถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่ไม่เฉพาะแต่สิ่งที่เป็นวัตถุหรือเครื่องมือเท่านั้น เช่น การศึกษานอกสถานที่ การแสดง บทบาทนาฏการ การสาธิต การทดลอง ตลอดจนการสัมภาษณ์และการสำรวจ เป็นต้น
.......เปรื่อง กุมุท กล่าวว่า สื่อการสอน หมายถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูถึงผู้เรียนและทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่ครูวางไว้ได้
.......ชัยยงค์ พรหมวงศ์ให้ความหมาย สื่อการสอนว่า วัสดุอุปกรณ์และวิธีการประกอบการสอนเพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการสื่อความหมายที่ผู้สอนประสงค์จะส่ง หรือถ่ายทอดไปยังผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพดังนั้นจึง++++สรุปได้ว่า สื่อการสอน หมายถึง เครื่องมือ ตลอดจนเทคนิคต่าง ๆ ที่จะมาสนับสนุนการเรียนการสอน เร้าความสนใจผู้เรียนรู้ให้เกิดการเรียนรู้ เกิดความเข้าใจดีขึ้น อย่างรวดเร็ว...ความสำคัญของสื่อการสอน...
...เปรื่อง กุมุท ให้ความสำคัญของสื่อการสอน ดังนี้
1. ช่วยให้คุณภาพการเรียนรู้ดีขึ้น เพราะมีความจริงจังและมีความหมายชัดเจนต่อผู้เรียน
...ประโยชน์ของสื่อการสอน...
1. เพื่อให้ทราบประวัติความเป็นมาขอคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
สิ่งที่ได้รับจากการเรียนวิชานวัตกรรมแห่งการเรียนรู้
สื่อวัสดุกราฟิก "สีไม้"
ชื่อสื่อ The Zoo
ใช้สอนในช่วงชั้นที่ 3
****จุดประสงค์ของการใช้สื่อ
.......1.เพื่อให้นักเรียนได้เรียนคำศัพท์เกี่ยวกับสัตว์ที่อยู่ในรูปภาพ และนักเรียนสามารถบอกชื่อสัตว์ที่นอกเหนือจากรูปภาพได้
.......2.มุ่งให้นักเรียนสามารถตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องPreposition เกี่ยวกับคำศัพท์ในสื่อการสอนเรื่อง The zoo
****ขั้นนำสื่อไปใช้
1. นำเข้าสู่บทเรียนโดยการสอน Preposition โดยมคำดังต่อไปนี้acrossabovebelowoverunderbeforeafteraroundbetweenamongatbehindnearbesideoninoutsideinside 2. ขั้นPresent ใช้สื่อกราฟิกสีไม้นำเสนอคำศัพท์เกี่ยวกับสัตว์ในภาพ ครูยกตัวอย่างบทสนทนาที่เกี่ยวกับเนื่อเรื่องให้สอดคล้องกับกับรูปภาพ
3. ขั้นPracticeครูให้บทสนทนากับนักเรียนได้ฝึกสนทนาออกเสียง โดยมีครูคอยช่วยเหลือเมื่อเด็กไม่เข้าใจครูให้นักเรียนจับคู่สนทนาในหัวข้อสนทนาตามที่ครูกำหนดครูยกตัวอย่างโดยใช้ตัวอย่างจากสิ่งแวดล้อมภายในห้องเรียน
4.ขั้นProductครูให้นักเรียนวาดภาพตามความสนใจแล้วแต่งประโยคให้ครบตามที่ครูกำหนด
คำศัพท์ที่ใช้ในสื่อการฟิกสีไม้มีดังนี้
- Lion
- Dog
- Monkey
- Deer
- Whale
- Crab
- Bear
- Horse
- Elephant
- Pig
- Rabbbit
- Turtle
- Frog
- Dragonfly
****บทสนทนาที่ใช้ในเรื่องConversation
11.1 A : Where is lion?
B : A lion is between an elephant and a pig.
1.2 A : Where is an elephant?
B : An elephant is infront of a tree. Conversation
22.1 A : What 's an animal under a snail?
B : A snail is above a frog.
2.2 A : What 's an animal behind a deer?
B: A horse is behind a deer.Conversation
3.3.1 A : which animal does it start wich the latter "C"?
B : The animal start wich "C" is crab.
A : which animal do they start with the latter "D"?
B : Animal start which "D" are dog and deer.
ปัจจัยพื้นฐานของการออกแบบสื่อการสอน
การเลือกสื่อ การดัดแปลง และการออกแบบสื่อ
1. การเลือกสื่อที่มีอยู่แล้ว ส่วนใหญ่ในสถาบันการศึกษามักจะมีทรัพยากรที่สามารถใช้เป็นสื่อได้อยู่แล้ว ดังนั้น สิ่งที่ผู้สอนต้องกระทำก็คือ ตรวจสอบดูว่ามีสิ่งใดที่จะใช้เป็นสื่อได้บ้าง โดยเลือกให้ตรงกับลักษณะผู้เรียนและวัตถุประสงค์
2. การดัดแปลงสื่อที่มีอยู่แล้ว ให้ใช้ได้ดีและเหมาะสมมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ย่อมขึ้นกับเวลาและงบประมาณในการดัดแปลงสื่อด้วย
3. การออกแบบผลิตสื่อใหม่ ถ้าสื่อนั้นมีอยู่แล้วและตรงกับจุดมุ่งหมายของการเรียนการ สอน เราก็สามารถนำมาใช้ได้เลยแต่ถ้ามีอยู่โดยไม่ตรงกับจุดมุ่งหมายเราก็ใช้วิธีดัดแปลงได้ แต่ถ้าไม่มีสื่อตามที่ต้องการก็ต้องผลิตสื่อใหม่
*********************************
การออกแบบผลิตสื่อใหม่ ควรคำนึงถึง
1. จุดมุ่งหมาย ต้องพิจารณาว่าต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนอะไร
2. ผู้เรียน ควรได้พิจารณาผู้เรียนทั้งโดยรวมว่าเป็นใคร มีความรู้พื้นฐานและทักษะอะไรมาก่อน
3. ค่าใช้จ่าย มีงบประมาณเพียงพอหรือไม่
4. ความเชี่ยวชาญด้านเทคนิค ถ้าตนเองไม่มีทักษะจะหาผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้านมาจากแหล่งใด
5. เครื่องมืออุปกรณ์ มีเครื่องมืออุปกรณ์ที่จำเป็นพอเพียงต่อการผลิตหรือไม่
6. สิ่งอำนวยความสะดวก มีอยู่แล้วหรือสามารถจะจัดหาอย่างไร
7. เวลา มีเวลาพอสำหรับการออกแบบหรือไม่
**********************************
....การติดตามและประเมินผลการใช้สื่อการสอนโนเอล และ ริโอนาร์ด ได้ให้หลักเกณฑ์ในการติดตามและประเมินผลการใช้สื่อดังนี้ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อติดตามผล ดังนี้
เอ็ดการ์ เดล (Edgar Dale) ให้ผู้ใช้ประเมินผลการใช้สื่อการสอนจากคำถามที่ว่า สื่อการสอนเหล่านั้นมีคุณลักษณะดังต่อไปนี้หรือไม่ เพียงไร
การเรียนโปรแกรมPhoto shop
......Photoshop เป็นโปรแกรมในตระกูล Adobe เป็นโปรแกรมที่ใช้ตกแต่งภาพหัวใจของ Photoshop คือการทำงานเป็น LayerLayer คือ ชั้นของรูปภาพ วัตถุ จะไม่เกี่ยวข้องกันการตั้งค่าหน้ากระดาษ มีวิธีการดังนี้ไปที่ เมนู File > New จะกำหนดค่าต่างๆคือ
......1. Ctrl + Z เป็นการกลับไปยังคำสั่งสุดท้าย